วันจันทร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2555

นักแต่งนิทาน ... Hans Christian Andersen

Hans Christian Andersen





      ฮันส์ คริสเตียน แอนเดอร์เซน (เดนมาร์ก: Hans Christian Andersen) (ค.ศ. 1805-1875) ตามความเห็นของผู้คนที่มีชีวิตอยู่ร่วมสมัยกับเขา แอนเดอร์เซนเป็นชาวเดนมาร์ก เขาเกิดในสลัม เป็นตัวตลกน่าสมเพชให้คนหัวเราะมาตลอดชีวิต แต่แล้วเขาก็ใช้คติหัวเราะทีหลังดังกว่า ด้วยบรรดางานเขียนที่เขาเรียกมันว่า ‘เรื่องเล่นๆ’ ที่เป็นนิทานสำหรับเด็ก ซึ่งทำให้ผู้ใหญ่ทั่วโลกนิ่งฟังด้วยตาโต แม้ว่าเขาจะเป็น ‘นักเขียนบทละครพื้นๆ กวีฝีมือธรรมดา นักเขียนนวนิยายชั้นดี และนักเขียนเรื่องท่องเที่ยวชั้นเลิศ’ หากในด้านนิทานแล้ว ‘เขาก้าวไปถึงขั้นเยี่ยมยอดไร้ที่ติ’ กล่าวกันว่านิทานของเขา ‘เป็นบรรณาการยิ่งใหญ่จากเดนมาร์กแก่โลกวรรณกรรม…ฐานะเทียมเท่าโฮเมอร์ ดันเต้ เชกสเปียร์ เซอร์บันเตส และเกอเธ่’
จากการนำนิทานพื้นบ้านมาเล่าใหม่ เขาก็เริ่มแต่งนิทานเอง แล้วก็เติมความเศร้าหรือน่ากลัวเข้าไป เสริมด้วยจินตนาการเพ้อฝันและลีลาภาษาพูดเรียบง่าย เพื่อย้อมความหวานซึ้งให้กับคติของเรื่อง ‘ต้นสน’ (1845) เป็นเรื่องหนึ่งอันเป็นที่ชื่นชอบกันมากที่สุด เช่นเดียวกับ ‘เด็กหญิงไม้ขีดไฟ’ ‘เงือกน้อย’ ‘ราชินีหิมะ’ ‘ไนติงเกล’ ‘กล่องชุดจุดไฟ’ … และแน่นอน ‘ลูกเป็ดขี้เหร่’ และ ‘ชุดใหม่ของจักรพรรดิ’ (‘แต่พระองค์ไม่ทรงสวมอะไรเลยสักชิ้น!’)

นิทานที่ ฮันส์ คริสเตียน แต่ง


The Angel

The Bell

ชุดใหม่ของพระราชา The Emperor's New Clothes

The Emperor's Nightingale

The Fir Tree

เด็กหญิงขายไม้ขีดไฟ The Little Match Girl

เงือกน้อย The Little Mermaid

The Real Princess

รองเท้าสีแดง Red Shoes

ราชินีหิมะ The Snow Queen

The Steadfast Tin Soldier

The Swineherd

ทัมเบลีน่า Thumbelina

ลูกเป็ดขี้เหร่ The Ugly Duckling

The Old House

The Happy Family

The Story of a Mother

The Shadow

The Dream of Little Tuk

Wild Swans

Credit : วิกิพีเดีย

วันพฤหัสบดีที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ว่าด้วยเรื่อง ... นิทาน อีสป

ว่าด้วยเรื่อง ... นิทาน อีสป 

   " อีสป "
   เป็นทาสชาวกรีกคนหนึ่งซึ่งมีชีวิตอยู่ในช่วงเวลา 560-620 ปีก่อนคริสต์ศักราช หรือ 208 ปี ก่อนพุทธศักราช(พระพุทธเจ้าประสูตรเมื่อ 80 ปี ก่อนพุทธศักราช) นับเวลาถึงปัจจุบันได้ 2,755- 2,815 ปี เขาอาศัยอยู่ที่เมืองซาร์ดิส บนเกาะซามอสของประเทศกรีก เกาะนี้ตั้งอยู่ที่นอกชายฝั่ง ของประเทศตุรกีในปัจจุบัน ในสมัยกรีกโบราณชายฝั่งทะเลทั้งหมดของประเทศตุรกีก็มีชาวกรีก อาศัยอยู่อย่างหนาแน่น อีสปเป็นคนพิการ ขี่เหร่ แต่เขามีจิตใจที่งดงาม ซึ่งตรงกันข้ามกับ สังขารของเขา เริ่มแรกนั้น อีสปมาจากเทรซซึ่งเป็นนครรัฐแห่งหนึ่งในสมัยโบราณ ปัจจุบันเทรซ เป็นดินแดนส่วนหนึ่งของกรีกและบัลแกเรีย อีสปไปทำงานเป็นทาสที่เกาะซามอสกับนายทาส ชื่อเอียดมอน ในระหว่างที่เป็นทาส อีสปได้นำชื่อเสียงมาสู่ตนเองและนายของเขาด้วยการเป็น นักเล่านิทานผู้มีความสามารถจนเป็นที่รู้จักกันดีในท้องถิ่นนั้น ในที่สุดอีสปก็ถูกปลดปล่อยให้ เป็นอิสระจากการเป็นทาส เนื่องจากความเป็นผู้ที่มีไหวพริบและสติปัญญาอันเฉียบแหลมของเขานั่นเอง 

เมื่ออีสปได้รับอิสรภาพนั้น เขามีชื่อเสัยงโด่งดังในการเล่านิทานมากจนได้รับเชิญให้ไปทำงาน อยู่ในราชสำนักของกษัตริย์เครซุส ซึ่งทรงเป็นกษัตริย์องค์สุดท้ายปห่งราชอาณาจักรลิเดียของ เอเซียไมเนอร์ ขณะนั้นราชสำนักแห่งนี้มีนักปราชญ์ราชบัณฑิตผู้ฉลาดรอบรู้อยู่แล้วหลายท่านเช่น โซลอน แห่งกรุงเอเธนส์ และเทลีส แห่งมิเลทัส เป็นต้น ในไม่ช้า กษัตริย์เครซุสก็ทรง โปรดปรานอดีตทาสผู้นี้อย่างรวดเร็ว เพราะทรงพอพระทัยในสติปัญญาอันเฉียบแหลมและไหวพริบ ตามธรรมชาติของเขา อีสปสามารถถวายทั้งความสนุกสนาน และแง่คิดในด้านต่าง ๆ แก่พระองค์ ทำให้ทรงเรียนรู้ความจริงหลายอย่างเกี่ยวกับการบ้านการเมืองของพระองค์จากการฟังนิทานของ อีสป มากกว่าจากการสนทนากับนักปราชญ์ประจำราชสำนักคนอื่น ๆ 

ขณะนั้นกษัตริย์เครซุสทรงเป็นประมุขแห่งนครรัฐเล็ก ๆ ทั้งหลายของกรีกด้วย พระองค์ทรงส่ง อีสปให้ไปปฏิบัติหน้าที่ราชทูตยังเมืองหลวงของนครรัฐเหล่านี้ อีสปใช้นิทานของเขาทำให้เกิด ความสำเร็จในการปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวอย่างชาญฉลาด ที่เมืองโครินธ์ อีสปใช้นิทานของเขา เป็นสื่อตักเตือนชาวเมืองถึงภยันอันตรายที่จะเกิดขึ้นจากการใช้กฏหมู่ที่กรุงเอเธนส์ เขาใช้นิทาน เรื่อง " กบเลือกนาย "เป็นสื่อชักชวนให้ชาวเมืองเลื่อมใสในการปกครองของปีซัสเตรตัส เป็นผลสำเร็จ 

    อวสานชีวิตของอีสปมาถึง 
   เมื่อกษัตริย์เครซุสส่งเขาไปปฏิบัติหน้าที่ราชทูตที่เมืองเดลฟิ ณ เมืองนี้ อีสปเล่านิทานโดยใช้สัตว์เป็นสัญาณบอกความจริงเกี่ยวกับความอยุติธรรมทางการเมืองให้ชาว เมืองรู้ การกระทำของเขาได้จุดไฟแห่งความโกรธแค้นให้ไหม้โหมกระหน่ำในหัวใจของนักการ เมืองแห่งเมืองเดลฟิอย่างหนัก นักการเมืองเหล่านี้ จึงคิดแก้แค้นอีสปโดยการแอบเอาขันทอง ศักดิ์สิทธิ์แห่งวิหารเทพอะพอลโลไปใส่ไว้ในกระเป๋าสัมภาระของอีสป แล้วกล่าวหาว่าเขาเป็นขโมย ในที่สุด อีสปจึงถูกตั้งข้อหาว่ากระทำการลบหลู่และทำลายชาวเดลฟิอย่างร้ายแรง อีกทั้งเป็นคนป่า เถื่อนและดุร้าย อีสปถูกตัดสินประหารชีวิตโดยถูกโยนลงมาจากหน้าผาสูงจนถึงแก่ความตาย ไปอย่างน่าเสียดายในที่สุด... 

การสร้างแนวคิด การอบรมสั่งสอน ให้คนมีความเชื่ออย่างใด อย่างหนึ่งในสมัยเมื่อสามพันปีที่ผ่านมา ไม่ใช่เรื่องง่ายเพราะนอกจากคนในสมัยนั้นยังมองเห็นโลก ไม่กว้าง ไม่มีเรื่องราวของวิทยาศาสตร์มาพิสูจน์ ให้รู้ว่าอะไรเป็นอะไร แล้วการที่จะตั้งตัวว่าเป็น ผู้รู้หรือที่เรียกกันว่า เป็น นักปราชญ์ นั้นมีโทษอย่างร้ายแรง ทีเดียวเพราะในสมัยนั้น ผู้ที่จะเป็นผู้รู้ได้จะต้องเป็นผู้ที่อยู่ ในศาสนาเท่านั้น หากคนนอกวัดแสดงตัวเป็นผู้รู้ โอกาศที่จะถูกพวกพระ พวกผู้นำทางศาสนากล่าว หาเอาเอาได้ว่า เป็นพวกพ่อมดหมอผีซึ่งมีโทษถึงตายทีเดียว 

จะเป็นด้วยเจตนาที่อีสปสร้างเรื่องราว เพื่อสั่งสอนให้คนทำความดี รู้จักตัวเอง มีคุณธรรม แต่เขารู้ว่า เขาจะทำอย่างตรง ๆไม่ได้เพราะจะมีภัยมาถึงตัว เขาจึงผูกเรื่องเพื่อการสั่งสอนของเขาออกเป็นเรื่องราว และใช้ตัวแสดงในเรื่องราวของเขาเป็นสัตว์ชนิดต่าง ๆ เป็นส่วนใหญ่ เพื่อให้คนฟังเข้าใจว่า เป็นเรื่อง เล่า ขานกันเพื่อความสนุกสนานอย่างเดียว ไม่เกี่ยวกับการสั่งสอนใคร 

ด้วยเหตุนี้เอง การเล่าเรื่องของอีสป จึงไม่มีใครคิดว่า เขากำลังสั่ง สอนให้คนอยู่ในศีลในธรรม แต่ทุกคน ฟังเรื่องราวของเขาเพราะความสนุกสนาน 

เรื่องราวของเขาจึงถูกเรียกขานกันในนามว่า " นิทาน " 

นิทานของ อีสปได้รับความนิยมอย่างมากจากคนฟัง ชีวิต ของเขาจึงทำงานด้วยการเล่านิทานเป็น กิจวัตร จนทำให้ทุกคนในท้องถิ่นที่เขาอยู่รู้จักเขาเป็นอย่างดี และทุกคนต่างก็อยากฟังนิทานของ เขาไม่ว่าจะเป็นทั้งเด็กหรือผู้ใหญ่  

    "ชีวิตของอีสปจบสิ้นลง อย่างน่าเสียดายแค่ตรงนั้น แต่นิทานของ อีสปยังถูกกล่าวขานกันอยู่ในหมู่ของผู้คนที่ กระจายเพิ่มมากขึ้น จากปากหนึ่งไปสู่อีกปากหนึ่ง "

    หลังจากที่อีสปตายไปไม่นานชาวเอเธนส์ผู้หนึ่งชื่อ ลีซิฟัส ก็ได้ปั้นรูปของอีสปตั้งไว้ข้างหน้าของอนุสาวรีย์ยอดนักปราชญ์ ทั้งเจ็ดของชาว เอเธนส์ซึ่งถือได้ว่าอีสปได้รับการยกย่องเทียบเท่ากับยอดนัก ปราชญ์ ผู้โด่งดังของชาวเอเธนส์ในยุคนั้นทีเดียว นิทานอีสปได้รับการเผยแพรเรื่อยมาตลอดชั่วระยะเวลากว่าสามพันปี ผู้อพยพ จากที่หนึ่งไปสู่ที่หนึ่ง จดจำนิทานอีสปไป เล่าขาน เรื่องราวเหล่านั้นจึงกระจายไปทั่วโลกและทุกมุมโลก ทุกคนเมื่อได้ฟังนิทาน ของอีสปแล้ว พวกเขาจะเกิดความรู้สึก สำนึกที่ดี ได้รับบทเรียน ได้รับรู้สิ่งที่ดีงาม และความชั่วร้าย ไปพร้อม ๆกับความสนุกสนาน 

นิทานของอีสปจึงกลายเป็นนิทานอมตะ ที่ไม่มีวันตายไปจากโลกนี้ แทบจะบอกได้เลยว่า นิทานอีสปนั้นมีอยู่ในทุกประเทศทุกหนทุกแห่งในโลกนี้ก็ว่าได้ 

   "อีสป ทาสชาวกรีกนักเล่านิทานอัจฉริยะของโลก และบทบาทของนิทานอีสปนับแต่ อดีตกาลจวบจนปัจจุบัน ย่อมเป็นสิ่งที่ชี้ชัดให้เห็นถึงคุณประโยชน์ของนิทานอีสปที่มีต่อมวล มนุษย์ได้เป็นอย่างดี"